O4 : ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและ
ติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

ที่มา กต.ตร.

          ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 76 กำหนดว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ”

          บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคังกล่าวได้ถูกนำมาปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเมื่อครั้งมี พ.ร.ฎ. โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 โดยได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็นองค์กรที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตรวจสอบการใช้อำนาจของข้าราชการตำรวจระดับต่าง ๆ

 การจัดตั้งองค์กรคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจครั้งแรกได้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2542 ตามระเบียบนี้กำหนดให้มี กต.ตร. 2 ระดับ คือ
          (1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ” กต.ตร.”
          (2) คณะกรรมกรตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.กทม. และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.จังหวัด

          ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ ( กต.ตร. ) ได้ออกระเบียบ กต.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานระดับสถานีตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค 1 ถึง9 เรียกโดยย่อว่า “กต.ตร.สถานีตำรวจ” และตามข้อ 10 ของระเบียบดังกล่าวได้ให้อำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการหน่วยงานอื่นในระดับเดียวกับสถานีตำรวจซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งได้แก่ ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจรถไฟ

          ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการตรา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายบริหารราชการตำรวจ ตามกฎหมายนี้มีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานตำรวจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้นไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดไว้ในมาตรา 7 ว่า

          ” ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและ ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การคำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด “

          พร้อมกันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานตำรวจโดยกำหนดให้มีองค์กรนโยบายขึ้นใหม่แทนคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานดำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) เรียกว่าคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามน โยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้มีอำนาจหน้าที่ในการ

          1) ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด

          2) เสนอแนะให้มีการตรา พ.ร.ฏ. โอนอำนาจหน้าที่ให้เป็นของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใด ตามมาตรา 6 วรรคสอง

          3) พิจารณาคำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ

          4) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม

          5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย

          6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

          7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนด

          และยังคงให้มีกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร จังหวัดและสถานีตำรวจอยู่ โดยกำหนดให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหารงานตำรวจของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ซึ่งแตกต่างไปจากอำนาจหน้าที่เดิม

          ส่วนแนวคิดในการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.กทม. จังหวัด และสถานีตำรวจ ยังคงให้เป็นองค์กรที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้กับประชาชนในชุมชนและหมู่บ้านกว้างมากขึ้น ทั้งต้องการให้เป็นองค์กรที่มีบทบาทตามนัยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติด้วย รวมตลอดทั้งให้มีความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับระบบการบริหารราชการของประเทศ (ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ด้วย) ดังนั้นในการกำหนดองค์ประกอบของ กต.ตร. ในปัจจุบันจึงกำหนดให้มีสัดส่วนของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากขึ้น ตลอดจนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการของตำรวจ พร้อมทั้งให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสถานีตำรวจยังเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่นสามารถเป็นประธาน กต.ตร.สถานีตำรวจได้

คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วย กต.ตร.ฯ

คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วย กต.ตร. พ.ศ.2549 ส่วนที่ 1

คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วย กต.ตร. พ.ศ.2549 ส่วนที่ 2

คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วย กต.ตร. พ.ศ.2549 ส่วนที่ 3

คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.)
สถานีตำรวจนครบาลประชาสำราญ

กต.ตร.โดยตำแหน่ง

กรรมการจากการเลือก

กรรมการจากการคัดเลือก

 

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ ที่ ก.ต.ช. กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้

  1. รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจ  จากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล ตามนโยบาย
  2. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ
  4. ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  5. รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
  6. ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
  7. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของ  สถานีตำรวจ
  8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการ  อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน./สภ. มอบหมาย
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด
  10. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มอบหมาย

บทบาทภารกิจ กต.ตร.สน.ประชาสำราญ

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. รอบ 6 เดือน